Who cast that first fateful tomato that started the La Tomatina revolution? The reality is no one knows. Maybe it was an anti-Franco rebellion, or a carnival that got out of hand. According to the most popular version of the story, during the 1945 festival of Los Gigantes (a giant paper mâché puppet parade), locals were looking to stage a brawl to get some attention. They happened upon a vegetable cart nearby and started hurling ripe tomatoes. Innocent onlookers got involved until the scene escalated into a massive melee of flying fruit. The instigators had to repay the tomato vendors, but that didn't stop the recurrence of more tomato fights—and the birth of a new tradition.
Fearful of an unruly escalation, authorities enacted, relaxed, and then reinstated a series of bans in the 1950s. In 1951, locals who defied the law were imprisoned until public outcry called for their release. The most famous effrontery to the tomato bans happened in 1957 when proponents held a mock tomato funeral complete with a coffin and procession. After 1957, the local government decided to roll with the punches, set a few rules in place, and embraced the wacky tradition.
Though the tomatoes take center stage, a week of festivities lead up to the final showdown. It's a celebration of Buñol's patron saints, the Virgin Mary and St. Louis Bertrand, with street parades, music, and fireworks in joyous Spanish fashion. To build up your strength for the impending brawl, an epic paella is served on the eve of the battle, showcasing an iconic Valencian dish of rice, seafood, saffron, and olive oil.
Today, this unfettered festival has some measure of order. Organizers have gone so far as to cultivate a special variety of unpalatable tomatoes just for the annual event. Festivities kick off around 10 a.m. when participants race to grab a ham fixed atop a greasy pole. Onlookers hose the scramblers with water while singing and dancing in the streets. When the church bell strikes noon, trucks packed with tomatoes roll into town, while chants of "To-ma-te, to-ma-te!" reach a crescendo.
Then, with the firing of a water cannon, the main event begins. That's the green light for crushing and launching tomatoes in all-out attacks against fellow participants. Long distance tomato lobbers, point-blank assassins, and medium range hook shots. Whatever your technique, by the time it's over, you will look (and feel) quite different. Nearly an hour later, tomato-soaked bombers are left to play in a sea of squishy street salsa with little left resembling a tomato to be found. A second cannon shot signals the end of the battle. | ใครกันหนอที่ขว้างมะเขือเทศลูกแรกและจุดชนวนให้เทศกาลมะเขือเทศถือกำเนิดขึ้นมา? ความจริงคือไม่มีใครรู้ อาจเป็นพวกกบฎต่อต้านชาตินิยมสเปน หรือเป็นแค่เทศกาลที่ฉลองกันเลยเถิดก็เป็นได้ เรื่องที่คนส่วนใหญ่เล่าต่อกัน คือ ระหว่างงานเทศกาลขบวนแห่ตุ๊กตากระดาษ ลอส กิกันเตส ปี 1945 คนท้องถิ่นพยายามตีกันเพื่อเรียกร้องความสนใจ พวกเขาเผอิญอยู่ใกล้รถเข็นผักเลยเริ่มขว้างมะเขือเทศใส่กัน ผู้ร่วมเทศกาลที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรก็เข้าไปร่วมด้วยจนขยายวงกลายเป็นสนามรบที่มีมะเขือเทศลอยเต็มฟ้า กลุ่มต้นเรื่องต้องชดใช้ค่ามะเขือเทศกับร้านค้า แต่ก็ไม่ได้หยุดยั้งการสู้รบกันด้วยมะเขือเทศครั้งต่อๆ มา - จนกลายเป็นต้นกำเนิดของประเพณีใหม่ ด้วยความกลัวว่าสถานการณ์จะบานปลาย เจ้าหน้าที่พยายามทั้งตั้งกฎ ผ่อนปรน และออกคำสั่งห้ามหลายครั้งในทศวรรษ 1950 ในปี 1951 คนท้องถิ่นที่ละเมิดกฎหมายนี้ถูกคุมขังจนประชาชนประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัว การท้าทายคำสั่งห้ามมะเขือเทศครั้งที่โด่งดังที่สุดเกิดขึ้นในปี 1957 เมื่อผู้ร่วมก่อการจัดงานศพให้กับมะเขือเทศพร้อมด้วยโลงศพและขบวนแห่ศพครบชุด หลังจากปี 1957 องค์การปกครองท้องถิ่นตัดสินใจที่จะปล่อยไปตามกระแส จึงกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ไม่กี่ข้อ และยอมรับประเพณีประหลาดๆ นี้อย่างเต็มที่ แม้ว่าจุดสนใจอยู่ที่มะเขือเทศ แต่มีงานเทศกาลเต็มหนึ่งสัปดาห์ก่อนสงครามสุดท้าย เทศกาลนี้เป็นการฉลองนักบุญประจำเมืองบุนญอล คือ พระแม่มารี และนักบุญหลุยส์ เบอร์ทรานด์ ด้วยขบวนพาเรด ดนตรี และพลุไฟเฉลิมฉลองตามแบบฉบับของชาวสเปน เพื่อเพิ่มพลังก่อนศึกใหญ่ พาเอลล่า จานโตจะถูกเสริฟ์ในคืนก่อนสงคราม สมกับที่เป็นเมนูประจำถิ่นเวเนเซียที่ประกอบไปด้วยข้าว อาหารทะเล หญ้าผรั่น และน้ำมันมะกอก ในปัจจุบัน เทศกาลสุดโต่งนี้ก็มีระเบียบของมันอยู่เหมือนกัน ผู้จัดงานทุ่มเทจนได้ปลูกมะเขือเทศชนิดพิเศษที่รสชาติทานไม่ได้สำหรับงานประจำปีนี้โดยเฉพาะ เทศกาลจะเริ่มต้นราวๆ 10 โมงเช้าเมื่อผู้ร่วมเทศกาลแข่งกันหยิบแฮมที่แขวนอยู่บนเสาลื่นๆ ผู้ชมจะฉีดน้ำใส่ผู้เข้าร่วมพร้อมๆ กับร้องเพลงและเต้นรำตามถนน เมื่อหอระฆังโบสถ์ตีบอกเวลาเที่ยง รถบรรทุกมะเขือเทศจะขับเข้ามาในเมืองพร้อมๆ กับเสียงตะโกน "มะเขือเทศ มะเขือเทศ" ที่ดังกึกก้องไปทั่ว จากนั้น เมื่อปืนฉีดน้ำยักษ์ยิงส่งสัญญาณ งานหลักก็ได้เวลาเริ่ม เหมือนสัญญาณไฟเขียวสำหรับการบดและการขว้างมะเขือเทศใส่ผู้ร่วมเทศกาลคนอื่นๆ อย่างไม่ยั้ง ไม่ว่าจะพลแม่นปืนจากระยะไกล นักฆ่าเลือดเย็นที่ขว้างกันต่อหน้า หรือพวกขว้างโค้งจากระยะกลางๆ จะใช้เทคนิคแบบไหนก็ตาม เมื่อเวลาหมด คุณจะไม่เหมือนเดิมแน่นอน (ทั้งความรู้สึกและรูปลักษณ์) เกือบหนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น มือระเบิดมะเขือเทศทั้งหลายจะอยู่ท่ามกลางซัลซ่ามะเขือเทศเต็มท้องถนนโดยไม่มีมะเขือเทศเต็มๆ เหลือสักลูกเลย และสงครามนี้จะจบด้วยสัญญาณครั้งที่สองจากปืนฉีดน้ำยักษ์ |