Who cast that first fateful tomato that started the La Tomatina revolution? The reality is no one knows. Maybe it was an anti-Franco rebellion, or a carnival that got out of hand. According to the most popular version of the story, during the 1945 festival of Los Gigantes (a giant paper mâché puppet parade), locals were looking to stage a brawl to get some attention. They happened upon a vegetable cart nearby and started hurling ripe tomatoes. Innocent onlookers got involved until the scene escalated into a massive melee of flying fruit. The instigators had to repay the tomato vendors, but that didn't stop the recurrence of more tomato fights—and the birth of a new tradition.
Fearful of an unruly escalation, authorities enacted, relaxed, and then reinstated a series of bans in the 1950s. In 1951, locals who defied the law were imprisoned until public outcry called for their release. The most famous effrontery to the tomato bans happened in 1957 when proponents held a mock tomato funeral complete with a coffin and procession. After 1957, the local government decided to roll with the punches, set a few rules in place, and embraced the wacky tradition.
Though the tomatoes take center stage, a week of festivities lead up to the final showdown. It's a celebration of Buñol's patron saints, the Virgin Mary and St. Louis Bertrand, with street parades, music, and fireworks in joyous Spanish fashion. To build up your strength for the impending brawl, an epic paella is served on the eve of the battle, showcasing an iconic Valencian dish of rice, seafood, saffron, and olive oil.
Today, this unfettered festival has some measure of order. Organizers have gone so far as to cultivate a special variety of unpalatable tomatoes just for the annual event. Festivities kick off around 10 a.m. when participants race to grab a ham fixed atop a greasy pole. Onlookers hose the scramblers with water while singing and dancing in the streets. When the church bell strikes noon, trucks packed with tomatoes roll into town, while chants of "To-ma-te, to-ma-te!" reach a crescendo.
Then, with the firing of a water cannon, the main event begins. That's the green light for crushing and launching tomatoes in all-out attacks against fellow participants. Long distance tomato lobbers, point-blank assassins, and medium range hook shots. Whatever your technique, by the time it's over, you will look (and feel) quite different. Nearly an hour later, tomato-soaked bombers are left to play in a sea of squishy street salsa with little left resembling a tomato to be found. A second cannon shot signals the end of the battle. | ไม่มีใครรู้ว่ามะเขือเทศชะตาขาดลูกแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามปฏิวัติมะเขือเทศ (La tomatina) นั้นถูกเหวี่ยงออกจากมือของใคร อาจจะเกิดระหว่างการประท้วงเผด็จการนายพลฟรังโก้ หรือเกิดขึ้นในงานเฉลิมฉลองที่เมามันจนเลยเถิด แต่เรื่องราวที่ถูกเล่าขานมากที่สุด บอกว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างขบวนพาเหรดของเทศกาล Los Gigantes (ขบวนแห่เปเปอร์มาเชยักษ์) ในปี 1945 เมื่อมีคนนึกสนุกอยากเรียกร้องความสนใจด้วยการคว้ามะเขือเทศจากรถเข็นใกล้มือขึ้นมาและเริ่มขว้างปา ผู้ชมที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต่างเข้าร่วมวงจนเกิดบานปลายกลายเป็นมหกรรมผลไม้บิน สุดท้ายคนที่เป็นต้นเหตุเลยต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับเจ้าของแผงผลไม้นั้นไป แต่นั่นก็ไม่อาจหยุดการกลับมาของสงครามมะเขือเทศและการถือกำเนิดของขนบใหม่ ด้วยความกลัวว่าความวุ่นวายนั้นจะลุกลาม ในปี 1950 ทางเจ้าหน้าที่จึงมีการกำหนดและปรับเปลี่ยนสารพัดกฎหมายมาบังคับใช้ เพื่อที่จะห้ามไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ในปี 1951 ชาวบ้านที่ฝ่าฝืนนั้นถูกจับเข้าคุก จนกระทั่งฝูงชนได้เรียกร้องให้มีการปล่อยตัว แต่เหตุการณ์ที่ถือเป็นการท้าทายอำนาจกฎหมายที่รุนแรงที่สุดนั้นเกิดขึ้นในปี 1957 เมื่อคนกลุ่มหนึ่งจัดขบวนแห่ศพให้กับมะเขือเทศอย่างเต็มยศ หลังจากปี 1957 ทางฝ่ายปกครองท้องถิ่นจึงได้ตัดสินใจผันตัวเองไปตามกระแสและแก้ปัญหาโดยการตั้งกฎไว้ควบคุมไม่กี่ข้อเพื่อรองรับประเพณีแสนเพี้ยนนี้ ถึงแม้ว่ามะเขือเทศจะกลายเป็นดารานำ แต่จุดประสงค์หลักของสัปดาห์แห่งการเลี้ยงฉลองนี้ คือการเฉลิมฉลองให้กับพระนางมารีย์ มารดาพระเยซู และนักบุญหลุยส์ เบอร์แทรนด์ นักบุญผู้คุ้มครองเมืองบูโยล ด้วยขบวนแห่พาเหรด เสียงดนตรี และการจุดดอกไม้ไฟอย่างสนุกสนานตามแบบฉบับของชาวสเปน และเพื่อเป็นการเตรียมพละกำลังให้พร้อม ในคืนก่อนการเข้าสู่สมรภูมิ ข้าวผัดปาเอย่าจานยักษ์จะถูกนำมาเสิร์ฟ โดยถือเป็นการอวดโฉมอาหารประจำแคว้นบาเลนเซีย ซึ่งก็คือข้าวผัดทะเลคลุกเคล้าหญ้าฝรั่นและน้ำมันมะกอก ในปัจจุบัน งานเทศกาลนี้ไม่มีข้อบังคับอย่างเคร่งคัดเหมือนเมื่อก่อน แต่กลับมีการจัดการอย่างเป็นระบบ องค์กรต่างๆพากันเตรียมเพาะปลูกมะเขือเทศรสเฝื่อนเพื่องานเทศกาลประจำปีนี้โดยเฉพาะ ความสนุกจะเริ่มเวลา 10 โมงเช้า โดยที่ผู้เข้าร่วมจะต้องแข่งกันปีนขึ้นไปดึงหมูรมควันลงจากยอดเสาที่ชโลมไปด้วยน้ำมัน ขณะที่ผู้คนแถวนั้นต่างพากันฉีดน้ำใส่พวกที่กำลังปีนป่ายพร้อมกับร้องเพลงและเต้นรำกันบนถนนอย่างเบิกบาน เมื่อระฆังโบสถ์บอกเวลาเที่ยงตรง รถบรรทุกซึ่งอัดแน่นไปด้วยมะเขือเทศเต็มท้ายจะเข้ามากลางใจเมืองพร้อมกับเสียงตะโกนเรียกหา “มะเขือเทศ” ดังกระหึ่ม หลังจากนั้น ปืนฉีดน้ำจะส่งสัญญาณบอกว่าถึงเวลาเริ่มพิธี ราวกับเป็นการเปิดไฟเขียวให้กับการบดขยี้คนข้างๆด้วยมะเขือเทศกันอย่างสุดฝีมือ ไม่ว่าจะเป็นลูกโยนระยะไกล การยิงแสกหน้า หรือว่าลูกยิงวิถีโค้ง จะด้วยเทคนิคใดก็ตาม สภาพและความรู้สึกของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปหลังสงครามสิ้นสุดลง ราวหนึ่งชั่วโมงถัดมา มือระเบิดมะเขือเทศตัวเปียกชุ่มทั้งหลายจะถูกปล่อยให้แหวกว่ายอยู่บนถนนที่เจิ่งนองไปด้วยมะเขือเทศซัลซ่า (salsa) ที่แทบจะไม่สามารถระบุชิ้นส่วนความเป็นมะเขือเทศได้เลย จนกระทั่งปืนฉีดน้ำครั้งสุดท้ายบ่งบอกถึงการสิ้นสุดของสงคราม |