Who cast that first fateful tomato that started the La Tomatina revolution? The reality is no one knows. Maybe it was an anti-Franco rebellion, or a carnival that got out of hand. According to the most popular version of the story, during the 1945 festival of Los Gigantes (a giant paper mâché puppet parade), locals were looking to stage a brawl to get some attention. They happened upon a vegetable cart nearby and started hurling ripe tomatoes. Innocent onlookers got involved until the scene escalated into a massive melee of flying fruit. The instigators had to repay the tomato vendors, but that didn't stop the recurrence of more tomato fights—and the birth of a new tradition.
Fearful of an unruly escalation, authorities enacted, relaxed, and then reinstated a series of bans in the 1950s. In 1951, locals who defied the law were imprisoned until public outcry called for their release. The most famous effrontery to the tomato bans happened in 1957 when proponents held a mock tomato funeral complete with a coffin and procession. After 1957, the local government decided to roll with the punches, set a few rules in place, and embraced the wacky tradition.
Though the tomatoes take center stage, a week of festivities lead up to the final showdown. It's a celebration of Buñol's patron saints, the Virgin Mary and St. Louis Bertrand, with street parades, music, and fireworks in joyous Spanish fashion. To build up your strength for the impending brawl, an epic paella is served on the eve of the battle, showcasing an iconic Valencian dish of rice, seafood, saffron, and olive oil.
Today, this unfettered festival has some measure of order. Organizers have gone so far as to cultivate a special variety of unpalatable tomatoes just for the annual event. Festivities kick off around 10 a.m. when participants race to grab a ham fixed atop a greasy pole. Onlookers hose the scramblers with water while singing and dancing in the streets. When the church bell strikes noon, trucks packed with tomatoes roll into town, while chants of "To-ma-te, to-ma-te!" reach a crescendo.
Then, with the firing of a water cannon, the main event begins. That's the green light for crushing and launching tomatoes in all-out attacks against fellow participants. Long distance tomato lobbers, point-blank assassins, and medium range hook shots. Whatever your technique, by the time it's over, you will look (and feel) quite different. Nearly an hour later, tomato-soaked bombers are left to play in a sea of squishy street salsa with little left resembling a tomato to be found. A second cannon shot signals the end of the battle. | ใครเป็นผู้ริเริ่มการปามะเขือเทศซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาล La Tomatina? ความจริงก็คือไม่มีผู้ใดทราบ บางทีมันอาจจะเกิดจากกบฏต่อต้านฝรั่งเศส หรือจากเทศกาลซึ่งดำเนินไปจนเกินกว่าจุดที่จะควบคุมได้ ตามเรื่องเล่าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ในช่วงเทศกาล Los Gigantes (ขบวนแห่หุ่นยักษ์ที่ทำจากกระดาษอัด) ในปี 1945 ชาวบ้านเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้นและกำลังมองหาทางจัดการกับฝ่ายตรงข้าม เมื่อพวกเขาเห็นรถเข็นผักในบริเวณใกล้เคียง จึงเริ่มคว้ามะเขือเทศสุกและขว้างปาใส่กัน ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยรอบก็ได้รับผลกระทบไปด้วยจนขยายวงกว้างขึ้นเกิดเป็นศึกการต่อสู้อย่างชุลมุนท่ามกลางผลไม้ที่ขว้างปาใส่กัน ท้ายที่สุดผู้เริ่มต้นการทะเลาะวิวาทต้องชำระค่าเสียหายคืนแก่ผู้ขายมะเขือเทศ แต่สิ่งที่ไม่จบไปด้วยคือการกลับมาอีกหลายครั้งของการต่อสู้โดยใช้มะเขือเทศ และนั่นเป็นจุดกำเนิดของประเพณีใหม่ ในช่วงปี 1950 ผู้มีอำนาจเกิดความกลัวต่อการขยายวงกว้างของความโกลาหล จึงตรากฎหมายห้ามจัดประเพณีนี้ขึ้นและนำมาบังคับใช้หลายครั้ง ในปี 1951 ชาวบ้านที่ท้าทายกฎหมายถูกจำคุกจนประชาชนต้องเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพวกเขา เหตุการณ์ต่อต้านการห้ามจัดประเพณีปามะเขือเทศที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเกิดขึ้นในปี 1957 เมื่อมีการจัดขบวนแห่มะเขือเทศจำลองพร้อมกับโลงศพ หลังจากปี 1957 รัฐบาลท้องถิ่นตัดสินใจที่จะยอมรับประเพณีแปลกประหลาดนี้ และออกกฎบางข้อเพื่อให้ประเพณีดำเนินต่อไป แม้ว่าการปามะเขือเทศจะเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาล แต่มันก็ยังมีกิจกรรมรื่นเริงอื่นๆ ที่ถูกรวมอยู่ในสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลองด้วย กิจกรรมเหล่านั้นได้แก่ การเฉลิมฉลองแก่นักบุญอุปถัมภ์ของเมืองบูญอล พระแม่มารีและ St. Louis Bertrand ซึ่งจะมีขบวนพาเหรดตามท้องถนน การแสดงดนตรี และดอกไม้ไฟแบบสเปนอย่างสนุกสนาน ปาเอยาซึ่งเป็นอาหารประจำชาติของประเทศสเปนและเป็นสัญลักษณ์ของแคว้นวาเลนเซียประกอบไปด้วยข้าว อาหารทะเล หญ้าฝรั่นและน้ำมันมะกอก จะถูกเสิร์ฟในเย็นวันก่อนการปามะเขือเทศ เพื่อเสริมสร้างพลังแก่ผู้ที่จะเข้าร่วมศึกปามะเขือเทศที่กำลังใกล้เข้ามา ในปัจจุบัน งานเทศกาลแห่งความอิสระนี้มีมาตรการควบคุมเพื่อความเป็นระเบียบมากขึ้น ผู้จัดงานได้ปลูกมะเขือเทศที่ไม่อร่อยหลากหลายสายพันธุ์พิเศษสำหรับงานประจำปีนี้เท่านั้น พิธีเฉลิมฉลองเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 10:00 นาฬิกาผู้เข้าร่วมงานจะแข่งขันกันปีนเสาซึ่งถูกทาด้วยน้ำมันให้ลื่นเพื่อขึ้นไปคว้าแฮมที่เสียบอยู่บนยอด ผู้เข้าชมการแสดงจะฉีดน้ำไปรอบๆ ในขณะที่ร้องเพลงและเต้นรำกันบนท้องถนน เมื่อระฆังโบสถ์ตีบอกเวลาเที่ยงวัน รถบรรทุกที่เต็มไปด้วยมะเขือเทศจะวิ่งเข้ามาในเมือง ขณะที่เพลง "To-ma-TE, to-ma-te!" ดังขึ้นเรื่อยๆ จากนั้น จะมีการฉีดน้ำจากปืนใหญ่ที่บรรจุน้ำเพื่อเป็นสัญญาณไฟเขียวให้กิจกรรมหลักเริ่มต้นขึ้น ซึ่งก็คือการบดขยี้และขว้างปามะเขือเทศเพื่อโจมตีผู้เข้าร่วมงานในทุกทิศทางด้วยเทคนิคต่างๆ เช่นการโยนลูกมะเขือเทศจากระยะไกล การโยนใส่จากระยะกลาง และการขว้างระยะเผาขนแบบสะเปะสะปะไม่มีจุดหมาย เกือบหนึ่งชั่วโมงต่อมา นักปาระเบิดมะเขือเทศทั้งหลายจะแช่เล่นอยู่ในทะเลของซอสมะเขือเทศบนถนนที่มีความอ่อนนุ่มซึ่งแทบจะไม่เหลือเค้าของลูกมะเขือเทศให้เห็นอยู่เลย การฉีดน้ำจากปืนใหญ่ครั้งที่สองเป็นสัญญาณสิ้นสุดของการต่อสู้ เมื่อหมดเวลา ผู้เข้าร่วมงานจะดู (และรู้สึก) แตกต่างจากก่อนเริ่มงานเป็นคนละคน |